
School concept: วรพัฒน์นวสิกขาอนุบาลศึกษา เพื่อความเจริญงอกงามมี “รากฐานชีวิตที่ดี” โดยรากฐานชีวิตที่ดีในเด็กปฐมวัยนั้น ประกอบไปด้วยผลลัพธ์ทางการศึกษา ๕ ด้าน ดังนี้
๑. Holistic Development พัฒนาการแบบองค์รวม เด็กได้รับการพัฒนาและมีสมรรถนะรอบด้านเหมาะสมตามวัย มีสมรรถนะ ๗ ประการ (UNICEF, ๒๕๖๑) ดังนี้
๑.๑ พัฒนาจากการเคลื่อนไหวและสุขภาวะทางกาย (Motor development and physical well-being)
๑.๒ พัฒนาจากการด้านสังคม (Social Development)
๑.๓ พัฒนาจากการด้านอารมณ์ (Emotional Development)
๑.๔ พัฒนาจากการด้านการคิดและสติปัญญา (Cognitive Development)
๑.๕ พัฒนาจากการด้านภาษา (Language Development)
๑.๖ พัฒนาจากการด้านจริยธรรม (Moral Development)
๑.๗ พัฒนาจากการด้านการสร้างสรรค์ (Creative Development)
๒. Senses ละเอียดว่องไว สัมผัสทั้ง ๗ ด้าน (Anna Jean Ayres, 1989) ได้แก่ การมองเห็น (Sight) การได้ยินเสียง (Hearing) การรับรส (Taste) การได้กลิ่น (Smell) การสัมผัส (Touch) การเคลื่อนไหวและการทรงตัว (Vestibular) และการรับรู้ผ่านกล้ามเนื้อ (Proprioception)
๓. EF แข็งแรง ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (Executive Functions: EF) สมองส่วนหน้าควบคุมความคิดและการกระทำ มีองค์ประกอบพื้นฐาน ๓ กลุ่มทักษะ (วิเชียร ไชยบัง, ๒๕๖๒) ดังนี้
๓.๑ กลุ่มทักษะพื้นฐาน
๓.๑.๑ Working Memory ความจำที่นำมาใช้งาน หรือความสามารถในการนำข้อมูล ความจำ ในสมองมาใช้งานตามสถานการณ์
๓.๑.๒ Inhibitory Control ความสามารถในการยั้งคิด ไตร่ตรอง ควบคุมความต้องการ คิดก่อนทำหรือคิดก่อนพูด
๓.๑.๓ Shifting/ Cognitive Flexibility ความสามารถในการปรับตัว พลิกแพลง การยืดหยุ่น หรือความคิดสร้างสรรค์
๓.๒ กลุ่มทักษะกำกับตนเอง
๓.๒.๑ Focus Attention ความสามารถใจการจดจ่อกับสิ่งที่ทำ ไม่วอกแวก
๓.๒.๒ Emotional Control ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ไม่โกรธง่าย ไม่หงุดหงิดง่าย
๓.๒.๓ Self-Monitoring การประเมินผลการทำงานของตนเอง หาจุดบกพร่อง และพัฒนาให้ดีขึ้น
๓.๓ กลุ่มทักษะปฏิบัติ
๓.๓.๑ Initiating ความสามารถในการลงมือทำ ไม่ผลัดวันประกันพุ่ง
๓.๓.๒ Planning and Organizing ความสามารถในการวางแผน ลำดับความสำคัญ การกำหนดเป้าหมาย และการประเมินผล
๓.๓.๓ Goal-Directed Persistence ความพากเพียรให้บรรลุเป้าหมาย
๔. Self’s แข็งแกร่ง
๔.๑ Self-esteem ภูมิใจในตนเอง สร้างสนามพลังบวกให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตนเอง (Green)
๔.๒ Self-control กำกับตัวเอง เด็กมีสติ สามารถควบคุมตนเองได้ (เป็นทักษะหนึ่งที่อยู่ใน EF)
๔.๓ Self-concept ความคิดหรือมุมมองที่มีต่อตนเองนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมโดยได้รับอิทธิพลมาจากการได้รับการยอมรับจากสังคมและปฏิสัมพันธ์จากคนรอบข้าง (William James, 1890)
๕. Trilingual คล่องแคล่วสมวัย เด็กมีความรู้ ความสามารถใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีนในการสื่อสาร อีกทั้งมีความเข้าใจวัฒนธรรมที่หลากหลาย
วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (ระดับปฐมวัย)
- Holistic Learning)
- Active Learning)
- Phenomenon-based Learning)
- Thematic integration)
- Project Approach)
- Science Project-based Learning)
- Play-based learning)
- Multi-Sensory integration approach)
- Whole multilingual)
- Creative art
- Rhythm of the day)
ระดับปฐมวัย
จัดการเรียนรู้บนฐานกิจวัตรประจำวัน (Rhythm of the day) การเรียนรู้เกิดขึ้นในทุกขณะกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ปฏิบัติ ทั้งด้วยตนเองและการปฏิบัติร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนและครูผู้สอน โดย เริ่มตั้งแต่ผู้เรียนมาถึงโรงเรียน ผู้เรียนได้รับการฝึกวินัยกิจวัตรประจำวัน จัดการตนเองอย่างเป็นลำดับขั้นตอน การเรียนรู้เกิดขึ้นผ่านการเล่น (Play-based Learning) บทบาทของครูเป็นผู้ร่วมเล่น กระตุ้นความสนใจและต่อยอดการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนตามความสนใจของผู้เรียนที่ต่างกัน การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เคารพความแตกต่างของผู้เรียนและพัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคล
จัดการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม (Holistic Learning) ส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐาน (Phenomenon-based Learning) กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นและครูผู้สอนผ่านทำกิจกรรม ตั้งข้อสังเกต/คำถาม ร่วมหาคำตอบโดยการสืบค้น/ลงมือปฏิบัติ/ทดลอง คิดวิเคราะห์ สื่อสารและเสนอความคิดเห็นจนนำไปสู่การได้ข้อสรุปร่วมกัน เช่น การจัดการเรียนรู้ที่ใช้โครงการเป็นตัวดำเนินกิจกรรม ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาคำตอบและแก้ปัญหาด้วยตนเองโดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำ (Project Approach) จะสอดแทรกด้วยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Thematic Integration) เชื่อมโยงสาระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนนำมาจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้มีทักษะ ความรู้และสามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเองพร้อมทั้งส่งเสริมความพร้อมด้านการสื่อสารภาษาที่สองและภาษาที่สาม ผ่านการจัดการเรียนรู้หลายภาษาแบบองค์รวม (Whole Multilingual) ด้วยสื่อและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษและความรู้ในภาษาจีนที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของผู้เรียนด้วยสื่อบูรณาการสัมผัสรับรู้ (Multi-Sensory Integration Approach) ให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการใช้ประสาททั้ง ๗ และการส่งเสริมพัฒนาการอย่างสมวัยผ่านศิลปะแบบองค์รวม เช่น ดนตรีโคดาย Creative art ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาผู้เรียนในหลายด้าน เช่น พัฒนาการสมองจากการใช้ความจำ พัฒนาด้านร่างกายจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และพัฒนาการด้านจิตใจ ความกล้าแสดงออก การปรับตัวเข้ากับสังคม เป็นต้น
การจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัยแบ่งเป็น ๒ โปรแกรม ดังนี้
- โปรแกรม Warraphat Active and Green ระดับชั้นอนุบาล ๑ – ๓ ชั้นเรียนโดยครูชาวไทยและเสริมภาษาอังกฤษ โปรแกรม I-kids
- โปรแกรม Dual Language Program: DLP
Active and Green ระดับชั้นอนุบาล ๑ – ๓
ชั้นเรียนโดยครูชาวต่างชาติร่วมกับครูชาวไทย ใช้ภาษาอังกฤษในการจัดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้เป็นหลัก
กิจกรรมจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ระดับอนุบาล ๑ – ๓
โปรแกรม Warraphat Active and Green และ Dual Language Program: DLP Active and Green ใช้หลักสูตรร่วมกันในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยมีความแตกต่างในบริบทการใช้ภาษาในชั้นเรียน โปรแกรม Warraphat Active and Green ใช้ภาษาไทยในการจัดการเรียนรู้เป็นหลัก ส่วนโปรแกรม DLP Active and Green ใช้ภาษาอังกฤษโดยครูชาวต่างชาติในการจัดการเรียนรู้เป็นหลัก ดังนั้นการจัดกิจกรรมประสบการณ์เรียนรู้ปฐมวัยวัยวรพัฒน์ จัดผ่านหลักการของ Rhythm of the day