
ระดับประถมศึกษา
School concept: วรพัฒน์นวสิกขา นักเรียนที่นำตนเองให้เกิดปัญญาและมีจิตจริยธรรมด้วยการศึกษาสมัยใหม่
โดยนักเรียนที่มีปัญญาและมีจิตจริยธรรม ๓ ลักษณะ ดังนี้
๑. Active and Green Learner
คือ ผู้เรียนที่รักการเรียนรู้ มีเครื่องมือในการเรียนรู้ นำตนเองสู่เป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ด้วยศักยภาพ ทักษะ ความสามารถ และความถนัดของตนเอง รักและเชื่อมั่นในตนเอง เห็นคุณค่าในตนและผู้อื่น ดูแล ควบคุมและจัดการกับอารมณ์ รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีสติรู้ตัว
๒. Active and Green Innovator คือ
ผู้เรียนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ มีทักษะการคิดที่เป็นเหตุเป็นผล คิดเป็นลำดับขั้นตอน จัดการและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ มีความยืดหยุ่นและรังสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณค่าหรือมีมูลค่า อีกทั้งยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ปรับเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจ มีความมุ่งมั่น เพื่อให้มีชีวิตอยู่อย่างมีพลังและมีความหมาย (Purposeful Learning) การปรับเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ การปรับเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อปลูกฝังจิตสาธารณะ ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง (Mindful Learning) และการปรับเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result-Based Learning)
๓. Active and Green Citizen คือ
ผู้เรียนที่มีความเคารพสิทธิ์ ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ภาษาในสังคม มีความคิดบวก ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง มีทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นเป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี สื่อสารอย่างสร้างสรรค์มีความหมายและหลากหลาย
โดย ลักษณะนักเรียนที่มีปัญญาและจิตจริยธรรมทั้ง ๔ ลักษณะ ประกอบไปด้วยผลลัพธ์ทางการศึกษา ๗ ประการ ดังนี้
- ๑. สมรรถนะการจัดการตนเอง (Self-Management: SM)
- ๒. สมรรถนะการสื่อสาร (Communication: CM)
- ๓. สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม (Teamwork and Collaboration: TC)
- ๔. สมรรถนะการคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking: HOT)
- ๕. สมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง (Active Citizen: AC)
- ๖. สมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน (Sustainable Coexistence with Nature and Science: SNS)
- ๗. สมรรถนะการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation Competency: IC)